วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

แกงเหลือง


 เครื่องปรุง  
1. ปลาทูสด หรือปลาช่อนก็ได   1   ก.ก.                       2. มะนาว    1    ลูก 
3. กะปิเผา   1    ช้อนโต๊ะ                                                4. ขมิ้นผง(แบบซอง)   2    ช้อนชา
5. พริกขี้หนูแห้ง   25-40    เม็ด                                      6. กระเทียมปลอกแล้ว   3     หัว
7. หน่อไม้เปรี้ยว   1/2    ก.ก.                                          8. น้ำปลา  4     ช้อนโต๊ะ
9. น้ำมะขามเปียก   1/2    ถ้วย 
     
 วิธีทำ
1. ตำพริกขี้หนูแห้ง , กะปิ , ขมิ้น , กระเทียม เข้าด้วยกัน
2. ตักใส่หม้อต้มน้ำที่กำลังต้มน้ำไว้แล้ว 5-6 ถ้วย
3. ตัดปลาเป็นชิ้นพอเหมาะเมื่อน้ำเดือด ใส่ปลาลงไป
4. ถ้าน้ำยังไม่เดือดห้ามคน จะทำให้คาว
5. เมื่อปลาสุกได้ที่ ใส่ผักลงไปใส่น้ำมะขามเปียก และน้ำมะนาว
  

ข้าวยำ

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

อาหารภาคใต้



 อาหารภาคใต้   จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น

อ่อมปลาดุก


เครื่องปรุง
1.ปลาดุกอุยหนักประมาณ 300 กรัม 1 ตัว           2.น้ำปลาร้า ½ ถ้วย
3.ผักชีลาว 3 ต้น                                                       4.ต้นหอม 2 ต้น
5.มะเขือพวง ½ ถ้วย                                                6.มะเขือเปราะ 5 ลูก
7.ใบแมงลัก ½ ถ้วย                                                  8.ใบชะพลู 10 ใบ
9.ข้าวเหนียวดิบแช่ให้นิ่ม 2 ช้อนโต๊ะ                 10.พริกขี้หนูสด 15 เม็ด
11.ตะไคร้ 1 ต้น                                                        12.หอมแดง 4 หัว
13.น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างปลาดุกให้สะอาดหั่นเป็นชิ้น
2. เอาน้ำ 2 ถ้วย ตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาลงต้ม เติมน้ำปลาร้า
3. โขลกหอมแดง พริกสด และข้าวเหนียวที่แช่น้ำให้ละเอียด ตักใส่หม้อต้มปลา ปรุงรสด้วยน้ำปลา
4. เมื่อปลาสุก ใส่มะเขือเปราะผ่าซีก ตะไคร้หั่นท่อนสั้น มะเขือพวง ใบชะพลู ใบแมงลัก ต้นหอมหั่น ปิดไฟ ยกลง รับประทานกับผักชีลาว

ลาบหมู

อาหารภาคอีสาน

อาหารไทยภาคอีสาน       มีข้าวเหนียวนึ่งเป็นหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ รับประทานกับลาบไก่ หมู เนื้อ หรือ ลาบเลือด ส้มตำ ปลาย่าง ไก่ย่าง จิ้มแจ่ว ปลาร้า อาหารภาคนี้จะนิยมปิ้ง หรือย่างมากกว่าทอดอาหารทุกชนิดต้องปรุงรสจัด เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่ชาวบ้านหามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ งู หนูนา มดแดง แมลงบางชนิด ส่วนเนื้อหมู วัว ไก่ และเนื้อสัตว์อื่น ๆ ก็นิยมตามความชอบ และฐานะสำหรับอาหารทะเลใช้ปรุงอาหารน้อยที่สุด เพราะนอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาแพงอีกด้วย

แกงฮังเล


ส่วนผสมแกงฮังเล
1.     เนื้อสันคอหมู    300     กรัม                 2.     เนื้อหมูสามชั้น    200     กรัม
3.     น้ำอ้อยป่น    2     ช้อนโต๊ะ                  4.     น้ำมะขามเปียก    3     ช้อนโต๊ะ
5.     ขิงซอย    1/2     ถ้วย                              6.     กระเทียม    1/2     ถ้วย
7.     ถั่วลิสงคั่ว    2     ช้อนโต๊ะ                   8.     สับปะรด    2     ช้อนโต๊ะ
9.     ผงฮังเล    2     ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกงแกงฮังเล
1.     พริกแห้ง    7     เม็ด                        2.     พริกขี้หนูแห้ง    4     เม็ด
3.     หอมแดง    3     หัว                         4.     กระเทียม    20     กลีบ
5.     ตะไคร้ซอย    2     ช้อนโต๊ะ          6.     ข่าซอย    1     ช้อนโต๊ะ
7.     เกลือ    1     ช้อนชา                        8.     กะปิหยาบ    1/2     ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
 1. หั่นเนื้อหมูสันคอและหมูสามชั้นเป็นชิ้น ขนาด 1.5 x 1.5 นิ้ว
2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
3. ผสมเครื่องแกง ผงฮังเล สับปะรด และเนื้อหมู คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
4. นำหมูที่หมักไว้มาตั้งไฟ ใส่น้ำเล็กน้อย ผัดจนกว่าหมูตึงตัว เคี่ยวต่อ คอยเติมน้ำเรื่อยๆ จนหมูนิ่มได้ที่
5. ใส่น้ำอ้อยป่น น้ำมะขามเปียก ใส่กระเทียม และขิงซอย คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อ
6. ใส่ถั่วลิสงคั่ว พอเดือดสักพัก ปิดไฟ
 

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

อาหารภาคเหนือ

 
อาหารภาคเหนือ   ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด  ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร  ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ   เช่น  ผัก   ปลา   และนิยมใช้ ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร  คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่    ขนมจีนน้ำเงี้ยว    ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ ขาดไม่ได้คือ   ดอกงิ้ว   ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง  ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม  หรืออย่างตำขนุน  แกงขนุน  ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น   เช่น
ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

แกงเขียวหวาน

ไข่ลูกเขย



เครื่องปรุง
     ไข่เป็ด10ฟอง พริกขี้หนูแห้งทอด7เม็ด ผักชีเด็ดเป็นใบ1ต้น หอมแดงซอย20หัว
น้ำตาลปีบ1/3ถ้วย น้ำปลา3ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก1/2ถ้วย น้ำมันพืช1/4 ถ้วย

วิธีทำ
1.ต้มไข่ให้สุกแล้วแช่น้ำเย็นไว้ แกะเปลือกออก
2.ใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟพอร้อน นำไข่ต้มลงทอดทั่วฟอง ตักขึ้นพักไว้
3.เจียวหอมในน้ำมันที่ทอดไข่จนเหลือง ตักขึ้นใส่ถ้วยไว้
4.ใส่น้ำตาลปีบลงผัดในน้ำมันที่เหลือจากการเจียวหอม ใส่น้ำมะขามเปียก น้ำปลาคนให้เข้ากัน เคี่ยวจนข้นชิมรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน ปิดไฟยกลง
5.จัดเสิร์ฟโดย ผ่าไข่เป็นสองซีก วางหงายขึ้นบนจาน ราดด้วยน้ำมะขามเปียก โรยหอมเจียวและผักชี
6.ถ้าชอบรสเผ็ดรับประทานกับพริกขี้หนูแห้ง


อาหารภาคกลาง

          
อาหารภาคกลาง เป็นอาหารที่มีการใช้กะทิ และเครื่องแกงต่าง ๆ มากที่สุด โดยการนำมาทำแกงต่าง ๆ และยังรับประทานแนมกับอาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น แกงคั่ว พะแนง ฯลฯ หรือที่ไม่ใช้กะทิแต่ใช้เครื่องแกง แกงส้ม แกงป่า ฯลฯ อาหารเหล่านี้จะมีเครื่องกินแนมด้วย โดยเลือกรสชาติที่เข้ากันได้ รับประทานร่วมกันแล้วทำให้อาหารอร่อย

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

อาหารไทย


ประวัติและความเป็นมาของอาหารไทย
               ปัจจุบันนี้อาหารไทยกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงและแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นอาหารไทยที่ชัดเจนก็คือ กลิ่นฉุน และรสชาติที่เผ็ดร้อน และที่สำคัญก็คือมีการนำ สมุนไพรและเครื่องเทศมาเป็นส่วนผสมในการปรุง อาหารไทยในยุคปัจจุบัน  ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทาง ด้าน อาหารจากนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในซีกโลกตะวันออกหรือตะวันตก โดยจะมีการนำวัตถุดิบและ กรรมวิธีในการปรุงจากประเทศต่าง ๆ มาประยุกต ์ ผสมผสานกับของดั้งเดิม  เพื่อเกิดอาหารที่มีรสชาต  และรูป ลักษณ์ใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากอาหารไทยในรูปแบบเดิมอย่างชัดเจนการนำเอาอาหารไทยมาประยุกต์เข้ากับอาหาร ต่างชาตินี้เองที่ทำให้เกิดอาหารไทยลูกผสมที่ได้รับการตอบรับค่อนข้างกว้างขวางในหมู่ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน